วันพุธที่ 22 สิงหาคม พ.ศ. 2561

เว็บบล็อกของเพื่อนๆ

ธนารีย์ บัญชา
อัญชลิตา จินดา
นพรัตน์ วรแสน
จิรดา ดาวกระจาย
แพรพรรณ จิรากาหงส์


ประโยชน์ ของขิง
ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ รูปขิง

                                                  ขิง ชื่อสามัญ Ginger (จินเจอะ)
                ขิง ชื่อวิทยาศาสตร์ Zingiber officinale Roscoe จัดอยู่ในวงศ์ขิง (ZINGIBERACEAE)
ขิงจัดเป็นสมุนไพรชนิดหนึ่งที่มีประโยชน์ต่อร่างกายในหลาย ๆ ด้าน เพราะอุดมไปด้วยวิตามินและแร่ธาตุที่มีความสำคัญอย่างมากต่อร่างกายของเรา เช่น วิตามินเอ วิตามินบี 1 วิตามินบี 2 วิตามินบี 3 วิตามินซี เบต้าแคโรทีน ธาตุเหล็ก ธาตุแคลเซียม ธาตุฟอสฟอรัส แถมยังมีโปรตีน คาร์โบไฮเดรต และเส้นใยจำนวนมากอีกด้วย ซึ่งประโยชน์ของขิงนั้น เราสามารถนำมาใช้ได้หลายอย่าง ไม่ว่าจะเป็นราก เหง้า ต้น ใบ ดอก แก่น และผลก็ได้ทั้งนั้นลายอย่าง ไม่ว่าจะเป็นราก เหง้า ต้น ใบ ดอก แก่น และผลก็ได้ทั้งนั้น

      ลักษณะทั่วไปของขิง

ขิงเป็นพืชล้มลุกที่อยู่ในวงศ์ ZINGIBERACEAE  เป็นสมุนไพรชนิดหนึ่งซึ่งเป็นที่รู้จักและมีการนำมาใช้ประโยชน์ทั้งทางอาหารและยามาอย่างยาวนาน เนื่องจากขิงมีคุณค่าทางอาหารและโภชนาการสูง ทั้งยังมีสรรพคุณทางยามากนั่นเอง
เหง้า หรือลำต้นใต้ดิน ขิงมีลักษณะขึ้นรวมกันแน่นเป็นกอ โดยลำต้นส่วนที่โผล่พ้นดินขึ้นมาคือลำต้นเทียม ส่วนลำต้นแท้คือเหง้าที่อยู่ใต้ดิน เรียกว่าแง่งขิงหรือหัวขิง แง่งขิงจะมีลักษณะเป็นแท่งสั้นๆ มีแง่งย่อยเล็กๆ และจะมีรากฝอยแทงรากออกมา เปลือกแง่งขิงมีสีเหลืองอมขาวนวลๆ เนื้อใยสีเหลือง มีกลิ่นหอม เป็นส่วนของขิงที่ถูกนำมาใช้ประโยชน์ที่สุดส่วนลำต้นเทียมจะมีสีเขียว ลักษณะเป็นปล้องถูกหุ้มด้วยกาบใบ                             
ลักษณะทางพืชศาสตร์                                                                                                                ขิงเป็นพืชล้มลุก มีลักษณะเป็นกอสูงประมาณ 90 เซนติเมตร ก้านใบเป็นกาบหุ้มซ้อนกัน จัดเป็นพืชตระกูลเดียวกับข่า ขมิ้น กระวาน เร่ว มีลำต้นใต้ดิน ซึ่งมีลักษณะคล้ายฝ่ามือ เรียกว่า เหง้าเปลือกเหง้ามีสีเหลืองอ่อน เนื้อมีสีเหลืองอมเขียว มีใยอาหารมาก ขิงอ่อนมีสีขาวออกเหลือง มีรสเผ็ดและกลิ่นหอมที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัว ขิงยิ่งแก่ยิ่งมีรสเผ็ดร้อน
สรรพคุณทางยา
 ราก รสหวาน ขม เผ็ดร้อน ใช้แก้ไอ ขับเสมหะ แก้ลม แก้บิด และช่วยเจริญอาหาร
 เหง้า รสหวาน เผ็ดร้อน ใช้ขับลม แก้ท้องอืด จุกเสียด แน่นเฟ้อ บรรเทาอาการคลื่นไส้
 ต้น รสเผ็ดร้อน แก้จุกเสียด ขับลม แก้ท้องเสียและท้องร่วง
 ใบ รสเผ็ดร้อน แก้นิ่ว แก้ขัดปัสสาวะ และใช้ฆ่าพยาธิได้
 ดอก รสเผ็ดร้อน แก้ขัดปัสสาวะ และช่วยย่อยอาหาร
 ผล มีสรรพคุณช่วยบำรุงน้ำนม แก้คอแห้ง แก้อาการระคายคอ เจ็บคอ แก้ไข้
 แก่น มีสรรพคุณแก้คัน
ลักษณะของขิง
ใบ  ใบเป็นใบเลี้ยงเดี่ยว เป็นส่วนหนึ่งของลำต้นเทียม มีสีเขียว ขอบใบเรียบ โคนใบแคบ ปลายใบแหลม มีขนเล็กๆขึ้นตามใบ  ใบส่วนยอดจะตั้งตรง ใบที่อยู่ด้านล่างจะโค้งงอลงด้านล่าง เห็นเส้นกลางใบอย่างชัดเจนกาบใบจะห่อหุ้มลำต้นเทียมเอาไว้
ดอก ขิงเป็นพืชที่ไม่ค่อยติดดอก แต่พบบ้างเล็กน้อย โดยดอกจะออกรวมกันเป็นช่อ คล้ายรูปกระบอง แทงดอกออกจากใจกลางเหง้า ก้านดอกสูงประมาณ 15-25 เซนติเมตร  ช่อดอกประกอบไปด้วยดอกและกลีบดอกจำนวนมาก เมื่อดอกยังอ่อนกาบดอกจะปิดแน่น และเปิดออกในภายหลัง กลีบดอกอุ้มน้ำ ร่วงไว โคนกลีบม้วน ปลายกลีบผายออก มีเกสรตัวผู้ 6 อัน ในตอนแรกจะมีสีเหลืองอมเขียว เมื่อบานจะเป็นสีแดงสวยงาม
ผล มีลักษณะกลม เปลือกแข็ง มีเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 1 ซม.
  สารอาหารสำคัญในขิง
ขิงอุดมไปด้วยสารอาหารที่สำคัญหลายชนิด เช่น ธาตุเหล็ก คาร์โบไฮเดรต แคลเซียม ฟอสฟอรัส โปรตีน วิตามินเอ เบต้าแคโรทีน วิตามินบี 1 บี 2 บี 3 วิตามินซี และมีเส้นใยจำนวนมาก
นอกจากนี้แล้วยิงยังมีน้ำมันหอมระเหยที่มีประโยชน์ น้ำมันหอมระเหยในขิงประกอบด้วยสาระสำคัญต่างๆ ได้แก่ ซิงจิเบอรีน (Zingiberene) ซิงจิเบอรอล (Zingiberol) ไบซาโบลีน (Bisabolene) และแคมฟีน (Camphene) ซึ่งจะมีอยู่ในขิงประมาณมากหรือน้อย ขึ้นอยู่กับวิธีการปลูกและช่วงการเก็บรักษา นอกจากนี้แล้วยังมีน้ำมันโอลีโอเรซิน (Oleoresin) ซึ่งเป็นสารสำคัญที่ทำให้ขิงมีกลิ่นฉุนและมีรสเผ็ด
ขั้นตอนวิธีการปลูกขิง
พันธุ์ที่ใช้ปลูก
 • ขิงไทย
 ขิงที่นิยมปลูกในบ้านเรามีอยู่หลายพันธุ์ด้วยกัน เช่น ขิงขาว ขิงมาเลย์ ขิงไทย ขิงเผ็ด ขิงเล็ก หรือขิงดำ ขิงชนิดนี้มีลักษณะที่เห็นชัดคือมีข้อถี่ แง่งขิงมีขนาดเล็กและสั้น แง่งเบียดกันชิดมาก มีเสี้ยนมาก รสชาติค่อนข้างเผ็ด
 ขิงใหญ่ ขิงหยวก หรือขิงขาว
 ขิงชนิดนี้มีข้อห่าง แง่งขิงมีขนาดใหญ่ ไม่เบียดกันชิด เนื้อละเอียด มีเสี้ยนน้อยมาก หรือไม่มีเสี้ยน รสเผ็ดน้อย ขิงสดที่มีจำหน่ายในท้องตลาดทั่วๆ ไป ส่วนมากมักเป็นขิงชนิดนี้
 ขิงเล็กหรือขิงเผ็ด 
จะมีแง่งเล็ก สั้น ข้อถี่ เนื้อมีเสี้ยนมาก รสค่อนข้างเผ็ด ลักษณะของตาที่ปรากฏบนแง่งค่อนข้างแหลม แตกแขนงดี นิยมปลูกเป็นขิงแก่ เพราะได้นำหนักดี ใช้ทำเป็นพืชสมุนไพรประกอบทำยารักษาโรคและสกัดทำน้ำมัน
ขิงพันธุ์จาไมก้า มีคุณภาพสูง กลิ่นหอม รสชาติอร่อย มักนำมาใช้ในอุตสาหกรรมเครื่องดื่ม
 ขิงพันธุ์อินเดีย เป็นขิงที่มีแป้งเยอะและรสเผ็ดจัด มักใช้ในอุตสาหกรรมผลิตเบียร์
 ขิงพันธุ์แอฟริกา นำมาจากจาไมก้า แต่เล็กกว่า เปลือกเมื่อตากแห้งจะเหี่ยวย่น สีน้ำตาลเทาเข้ม กลิ่นหอมแรง เนื้อขิงสีน้ำตาลอ่อน มีเส้นใยมาก
 ขิงพันธุ์จีน แง่งสีขาว เส้นใยน้อยมากหรือไม่มีเลย เหมาะสำหรับทำขิงดองแต่มาเหมาะกับการทำยา
 ขิงพันธุ์ญี่ปุ่น  แง่งมีขนาดเล็ก เปราะ หักง่าย กลิ่นหอมฉุน เส้นใยน้อย เผ็ดจัด
 ขิงพันธุ์ออสเตรเลีย เป็นขิงที่มีลักษณะพิเศษ คือมีกลิ่นมะนาวมากกว่าขิงสายพันธุ์อื่นๆ
การเก็บรักษาท่อนพันธุ์
แง่งขิงที่ขุดขึ้นมาแล้วควรเก็บไว้ในที่แห้งและเย็น มีอากาศถ่ายเทได้สะดวก ก่อนเก็บให้นำท่อนพันธุ์มาจุ่มลงในน้ำยาเคมี เพื่อป้องกันเชื้อราและแมลงศัตรูขิง สารเคมีที่ใช้อาจใช้ยาพวก ไดโฟลาแทน 80 หรือแมนเซท-ดี ผสมน้ำในอัตรา 2-4 ช้อนแกงต่อน้ำ 1 ปี๊บ หรือใช้เบนเลทผสมน้ำในอัตรา 1 ช้อนแกงต่อน้ำ 1 ปี๊บก็ได้ โดยมีวิธีการดังนี้
       • เลือกพันธุ์ขิงที่มีอายุ 10-12 เดือน ข้อถี่ แง่งใหญ่ กลมป้อม ตาเต่ง เนื้อขิงไม่นิ่ม ผิวเป็นมัน
       • ตัดท่อนพันธุ์ที่สมบูรณ์เท่านั้น (ปราศจากร่องรอยการทำลายของโรคและแมลง)
       • เมื่อจะตัดท่อนพันธุ์ขิงในแง่งหนึ่งๆ ต้องทำความสะอาดมีดที่ใช้ตัดทุกครั้ง โดยแช่ไว้ในแอลกอฮอล์หรือคลอร็อกซ์ เพื่อป้องกันกำจัดเชื้อโรค เพราะถ้านำมีดที่ตัดแง่งขิงที่เป็นโรคไปใช้ตัดท่อนพันธุ์ดี จะทำให้พันธุ์ขิงดีติดเชื้อโรคได้
      • ตัดขิงพันธุ์เป็นท่อนๆ ให้แต่ละท่อนมี 2-3 ตาเท่านั้น จะใช้พันธุ์ขิงประมาณ 300 กิโลกรัมต่อไร่

      • ใช้สารเคมีป้องกันและกำจัดเพลี้ยหอย เช่น มาลาไทออน ผสมสารป้องกันกำจัดโรครา เช่น เดลซีนเอ็มเอกซ์ หรือไดเทนเอ็น 45 โดยใช้อัตรา 2 เท่าที่ใช้พ่นทางใบ แช่ท่อนพันธุ์ประมาณ 15-30 นาที แล้วนำไปผึ่งให้แห้งก่อนนำไปปลูก

การเตรียมพันธุ์ปลูก
ทำการตัดท่อนพันธุ์เป็นท่อนๆ ยาวประมาณท่อนละ 2 นิ้ว โดยแต่ละท่อนให้มีตาบนแง่งประมาณ 2-3 ตา นำท่อนพันธุ์ดังกล่าว ไปแช่น้ำยากำจัดเชื้อราอีกครั้ง อาจใช้ยาพวกไดโฟลาแทนหรือแมนเซท-ดี ในอัตรา 2 ต่อ 4 ช้อนแกงต่อน้ำ 1 ปีบ หรือใช้เบนเลทในอัตรา 1 ช้อนแกงต่อน้ำ 1 ปีบ แช่ไว้ประมาณ 10-15 นาที หรืออาจใช้วิธีคลุกด้วยยาซีรีแซนผงผสมน้ำคลุกได้เช่นกันจากนั้นนำท่อนพันธุ์ที่แช่หรือคลุกยาดังกล่าว มาผึ่งแดดให้แห้งอีกครั้งหนึ่ง จึงค่อยนำไปปลูก สำหรับพื้นที่ปลูก 1 ไร่ จะใช้ท่อนพันธุ์ขิงประมาณ 200 – 400 กิโลกรัม
 ฤดูการปลูกขิง
การปลูกในฤดูฝน ขิงที่ปลูกขายกันไม่ว่าจะเป็นขิงอ่อน หรือขิงแก่ ส่วนใหญ่จะเป็นขิงที่ปลูกในฤดูฝนเกือบทั้งหมด การปลูกขิงในฤดูฝนนี้นิยมปลูกต้นฤดูฝน ในระหว่างเดือนเมษายนถึงเดือนพฤษภาคมของทุกปี
การปลูกนอกฤดูฝน โดยจะทำการปลูกในฤดูหนาว ประมาณ เดือนมกราคมถึงเดือนกุมภาพันธ์
การเตรียมดินปลูก
ไถพรวนดิน 3-4 ครั้ง จากนั้นก็ทำการยกแปลงหรือยกร่องปลูก ถ้าปลูกแบบแปลงก็ทำการยกแปลงปลูกให้มีขนาดกว้าง 1 เมตร สูง 15-20 เซนติเมตร ความยาวขึ้นอยู่กับขนาดพื้นที่ ถ้าปลูกแบบร่องก็ทำให้เป็นร่องปลูก โดยให้ระยะห่างระหว่างร่องประมาณ 50-70 เซนติเมตร ส่วนความสูงและความยาวก็เช่นกัน
ก่อนการปลูกควรหาปุ๋ยอินทรีย์ อาจเป็นปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมักก็ได้ และใส่ปูนขาวในอัตราส่วนปุ๋ยอินทรีย์ต่อปูนขาวเท่ากับ 1 ต่อ 15 รดน้ำทิ้งไว้ 15 – 30 วัน จึงค่อยลงมือปลูกต่อไป
การปฏิบัติดูแลรักษา 
 การให้น้ำ 
โดยติดตั้งระบบการให้น้ำแบบสปริงเกลอร์ ซึ่งอาจจะต้องลงทุนสักหน่อย แต่เมื่อเทียบกับผลที่ได้แล้วก็นับว่าคุ้มกันอยู่ หากพบว่าหน้าดินและต้นขิงเริ่มแสดงอาการเหี่ยว ควรทำการให้น้ำทันที ส่วนการปลูกโดยอาศัยการชลประทานนั้น เมื่อตรวจแปลงปลูกพบว่าดินเริ่มแห้ง ก็ทำการทดน้ำเข้าแปลงปลูก หากพบว่าในแปลงปลูกมีน้ำท่วมขัง ให้รีบระบายน้ำออกทันที
 การคลุมดิน
 จะสามารถลดค่าใช้จ่ายในการกำจัดวัชพืชไปด้วย ช่วยรักษาความชื้นในแปลงปลูก สำหรับวัสดุคลุมดินที่ใช้นั้น ก็หาที่มีอยู่ตามหมู่บ้าน เช่น ทางมะพร้าว ใบหญ้าคา ฟางข้าว เป็นต้น
 • การใส่ปุ๋ย
 สำหรับปุ๋ยที่ใช้คือปุ๋ยสูตร 15-15-15 ซึ่งจะใช้เป็นปุ๋ยรองพื้นในอัตรา 50-60 กิโลกรัมต่อไร่ ต่อจากนั้นเมื่อขิงอายุได้ 2 เดือน และ 4 เดือน จะใช้ปุ๋ยสูตร 13-13-21 ในอัตรา 50-60 กิโลกรัมต่อไร่ การใส่ควรใส่ระหว่างหลุมปลูกประมาณหลุมละ 1 ช้อนชา
การกำจัดวัชพืช
 จะเริ่มตั้งแต่การเตรียมแปลงปลูก โดยในการไถจะต้องทำการไถพรวนเก็บเอาเศษวัชพืชออกให้หมด หลังจากปลูกขิงเรียบร้อยแล้วนั้น สามารถที่จะทำได้วิธีเดียว คือ ใช้มือถอน เนื่องจากเป็นวิธีที่กระทบกระเทือนต่อขิงน้อยที่สุด
การกลบโคนหรือถมโคน
 นอกจากจะเป็นการกำจัดวัชพืชไปในตัวแล้ว ยังเป็นการกระตุ้นให้ขิงแตกหน่อแตกกอดี และแง่งจะเจริญสมบูรณ์ ครั้งแรกทำการกลบโคนเมื่อขิงมีอายุ 2 เดือน หรือเมื่อต้นขิงงอกขึ้นมาได้ประมาณ 3 ต้น โดยใช้จอบโกยดินบนสันร่องกลบโคนต้นขิง เพียงครึ่งหนึ่งของร่อง ครั้งที่สองกระทำหลังจากครั้งแรกประมาณ 1 เดือน คือ เมื่อขิงมีอายุ 3 เดือน
 การเก็บเกี่ยวขิง
     การเก็บเกี่ยวขิงอ่อน จะเริ่มเก็บเมื่ออายุประมาณ 4-6 เดือน ผลผลิตของแง่งสดได้ประมาณ 3,000-4,000 กิโลกรัมต่อไร่
     การเก็บเกี่ยวขิงแก่ จะเริ่มเก็บเมื่อขิงมีอายุได้ประมาณ 8-12 เดือน โดยจะสังเกตได้จากใบและลำต้นเริ่มมีอาการเหี่ยวเฉา
   ประโยชน์ของขิง
1.       ขิงจัดว่าเป็นยาอายุวัฒนะชั้นยอด
2.       มีสารต่อต้านอนุมูลอิสระเป็นจำนวนมาก ช่วยชะลอความแก่และชะลอการเกิดริ้วรอย
3.       มีส่วนช่วยในการป้องกัน ต่อต้านการเกิดโรคมะเร็ง ต่อต้านการเจริญเติบโตของเซลล์มะเร็ง
4.       ช่วยลดผลข้างเคียงจากสารเคมีที่ใช้ในการรักษามะเร็ง ดังนั้นควรรับประทานขิงควบคู่ไปกับการรักษามะเร็งจะเป็นผลดี
5.       ขิงมีฤทธิ์อุ่น ช่วยให้ร่างกายอบอุ่น และช่วยในการขับเหงื่อ
6.       ใช้บำรุงน้ำนมของมารดา (ผล)
7.       ช่วยทำให้นอนหลับได้อย่างสบาย
8.       การรับประทานขิงจะช่วยทำให้เลือดแข็งตัวเป็นลิ่มเลือดได้ช้าลง
9.       ใช้แก้ไข้ (ผล) ด้วยการนำขิงสดมาคั้นเป็นน้ำให้ได้ประมาณครึ่งถ้วย แล้วผสมกับน้ำผึ้ง 1 ช้อนชา นำมาต้มกับน้ำ 2 ถ้วย แล้วนำมาดื่มวันละ 3 ครั้ง จะช่วยบรรเทาอาการได้
10.   ช่วยแก้หวัด บรรเทาอาการไอ บรรเทาหวัดจับเสมหะ ด้วยการใช้ขิงสดฝนกับน้ำมะนาวใส่เกลือนิดหน่อย
11.   ไอน้ำหอมระเหยจากน้ำขิงช่วยทำลายไวรัสหวัดในทางเดินหายใจได้
12.   แก้ลม (ราก)
13.   ในผู้ป่วยที่มีอาการเมายาสลบหลังผ่าตัด น้ำขิงช่วยแก้เมาได้
14.   ช่วยแก้อาการเมารถ เมาเรือได้เป็นอย่างดี ด้วยการใช้ขิงสดนำมาตำให้แหลก คั้นเอาเฉพาะน้ำดื่ม (ไม่ต้องดื่มน้ำตาม)
15.   ช่วยแก้ปัญหาผมร่วง หัวล้าน ด้วยการนำเหง้าสดไปผิงไฟจนอุ่น แล้วนำมาตำให้แหลก นำมาพอกบริเวณที่มีผมร่วง วันละ 2 ครั้งจนอาการดีขึ้น หรืออีกวิธีก็คือคั้นเอาเฉพาะน้ำขิงมาผสมกับน้ำมันมะกอกแล้วนำมาหมักผม นวดให้ทั่วศีรษะประมาณ 30 นาทีก็ช่วยลดปัญหาผมร่วงได้เหมือนกัน แถมยังช่วยให้ผมสวย แข็งแรง มีความนุ่มลื่น ไม่ขาดง่ายอีกด้วย
16.   ช่วยบำรุงสายตา รักษาโรคเกี่ยวกับตา และใช้แก้อาการตาฟาง (ผล, ใบ)
17.   ช่วยรักษาอาการตาแฉะ (ดอก)
18.   ช่วยแก้โรคกำเดา (ใบ)
19.   ใช้แก้อาการคอแห้ง เจ็บคอ (ผล)
20.   ช่วยแก้อาการร้อนใน ด้วยการใช้ลำต้นสด ๆ นำมาทุบให้แหลกประมาณ 1 กำมือ แล้วต้มกับน้ำดื่ม
21.   ช่วยลดความอ้วน ลดระดับไขมัน คอเลสเตอรอล ด้วยการดูดซึมคอเลสเตอรอลจากลำไส้ แล้วปล่อยให้ร่างกายกำจัดออกทางอุจจาระ
22.   ช่วยบำรุงสายตา รักษาโรคเกี่ยวกับตา และใช้แก้อาการตาฟาง (ผล, ใบ)
23.   ช่วยรักษาอาการตาแฉะ (ดอก)
24.   ช่วยแก้โรคกำเดา (ใบ)
25.   ช่วยแก้อาการเมารถ เมาเรือได้เป็นอย่างดี ด้วยการใช้ขิงสดนำมาตำให้แหลก คั้นเอาเฉพาะน้ำดื่ม (ไม่ต้องดื่มน้ำตาม)
26.   ช่วยแก้ปัญหาผมร่วง หัวล้าน ด้วยการนำเหง้าสดไปผิงไฟจนอุ่น แล้วนำมาตำให้แหลก นำมาพอกบริเวณที่มีผมร่วง วันละ 2 ครั้งจนอาการดีขึ้น หรืออีกวิธีก็คือคั้นเอาเฉพาะน้ำขิงมาผสมกับน้ำมันมะกอกแล้วนำมาหมักผม นวดให้ทั่วศีรษะประมาณ 30 นาทีก็ช่วยลดปัญหาผมร่วงได้เหมือนกัน แถมยังช่วยให้ผมสวย แข็งแรง มีความนุ่มลื่น ไม่ขาดง่ายอีกด้วย
27.   ช่วยบำรุงสายตา รักษาโรคเกี่ยวกับตา และใช้แก้อาการตาฟาง (ผล, ใบ)
28.   ช่วยรักษาอาการตาแฉะ (ดอก)
   วีธีใช้
ขิงนำมาทำอาหารได้หลากหลาย ขิงอ่อนใช้เป็นผักจิ้ม ใช่ทำผัดขิง ใสในยำเช่นยำหอยแครง ใส่ในแกงฮังเล น้ำพริก กุ้งจ่อม ซอยใส่ในต้มส้มปลา เมี่ยงคำ ไก่สามอย่าง ใช้ทำขิงดอง ใส่ในบัวลอยไข่หวานเพื่อดับกลิ่นคาวไข่ [4]ทำเป็นอาหารหวาน เช่น น้ำขิง เต้าฮวย ขิงแช่อิ่ม ขนมปังขิง และยังทำเป็นขิงผงสำเร็จรูป สำหรับชงดื่ม

ข้อควรระวังในการทานขิง

1. การรับประทานขิงแบบน้ำคั้น ไม่ควรคั้นแล้วดื่มแบบเข้มข้นเกินไปเพราะจะไประงับการบีบตัวของลำไส้ได้
2. ขิงมีฤทธิ์ร้อน จึงไม่เหมาะกับผู้ที่ร้อนง่าย เหงื่อออกง่ายหากจะดื่มควรดื่มในปริมาณน้อย
3. การดื่มน้ำขิงมากไปอาจจะทำให้เกิดแผลร้อนในในปากได้
4. ขิงมีสรรพคุณต้านการแข็งตัวของเลือด ดังนั้นหากใช้ยาละลายลิ่มเลือดอยู่ไม่ควรรับประทานขิง เพราะอาจจะทำให้เกิดอาการห้อเลือดได้

อ้างอิง

1.        ชื่อพรรณไม้แห่งประเทศไทย เต็ม สมิตินันทน์ สำนักงานหอพรรณไม้ กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช พ.ศ. 2549
2.        ขิง ข้อมูลพรรณไม้ สำนักงานโครงการอนุรักษ์พันธุ กรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี
4.        กรณิศ รัตนามหัทธนะ. ขิงอ่อน.ครัว. ปีที่ 20 ฉบับที่ 240 หน้า 12


เว็บบล็อกของเพื่อนๆ

ธนารีย์ บัญชา อัญชลิตา จินดา นพรัตน์ วรแสน จิรดา ดาวกระจาย แพรพรรณ จิรากาหงส์